การนับวัตถุ ในภาพ
การนับวัตถุในภาพ
การกำหนดหมายเลขให้ส่วนที่เชื่อมกัน
(Connected-component labeling)
ใช้ในการวิเคราะห์ส่วนประกอบหรือบริเวณที่มีการเชื่อมติดกันและใช้ในการแยกบริเวณต่างๆออกจากกันซึ่งไม่เหมือนกับวิธีตัดแยกโดยวิธีการกำหนดหมายเลขให้ส่วนที่เชื่อมกัน
(Connected-component labeling) เป็นวิธีที่ใช้ในคอมพิวเตอร์วิทัศน์
(Computer vision) เพื่อตรวจจับบริเวณที่เชื่อมติดกันของภาพขาวดา ภาพสี
แต่โดยทั่วไปใช้ในภาพขาวดาที่ผ่านการประมวลผลมาแล้ว อาจใช้ในการนับจานวน การกรองและการติดตาม
ภาพที่ 21 แบบจุด 4 จุด เชื่อมกันและแบบจุด 8 จุด เชื่อมกัน
จากรูปที่ 21 จุดที่อยู่รอบๆ จุดที่อยู่ตำแหน่งตรงกลางคือ เพื่อนบ้านมีทั้งแบบจุด
4 จุด เชื่อมกันและแบบจุด 8 จุด เชื่อมกันโดยเพื่อนบ้านที่เชื่อมกันก็คือขอบนั้นเอง
การกำหนดหมายเลขมี 2 แบบคือแบบจุด 4 จุด
เชื่อมกันและแบบจุด 8 จุด เชื่อมกัน มีข้อแตกต่างกันคือ ถ้าเป็นแบบจุด
4 จุด เชื่อมกันจะเลือกจุดที่เชื่อมกันเฉพาะบน ล่าง ซ้าย ขวา แต่หากเป็น
แบบจุด 8 จุด เชื่อมกันจะเลือกรวมจุดที่อยู่มุมทแยงจากตาแหน่งกลางอีก
4 จุดด้วย
รูปที่
22 อักษรตำแหน่งจุดภาพ
ดังรูปที่ 22 กำหนดให้ p (pixel) แทนจุดภาพที่กาลังพิจารณา
u แทนจุดภาพที่อยู่ตำแหน่งเหนือจุด p l แทนจุดภาพที่อยู่ตำแหน่งซ้ายของจุด
p จะเริ่มทาจากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง จากนั้นทาการกำหนดเลขหมายตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1. ถ้าจุด p ไม่ใช่จุดภาพให้เลื่อนจุดในตำแหน่งถัดไป ถ้า p เป็น จุดภาพ
ให้ตรวจสอบสถานะของ u และ l ถ้าไม่มีจุดใดเป็นจุดภาพให้
กำหนดหมายเลขใหม่ให้กับจุด p ถ้ามี 1 จุดเป็นจุดภาพให้นาหมายเลขของ
จุดนั้นมากาหนดให้จุด p แต่ถ้ามีมากกว่า 1 จุดเป็นจุดภาพสามารถนาหมายเลขของจุดใดก็ได้มากำหนดให้จุด p โดยถือว่าทุกหมายเลขเทียบเท่ากัน
ขั้นที่ 2. เมื่อสิ้นสุดการสแกนในขั้นที่ 1 จุดภาพทุก ๆ จุด แต่บางหมายเลขจะเทียบเท่ากัน ให้รวมกลุ่มหมายเลขที่เทียบเท่ากัน
จากนั้นกำหนดหมายเลขให้แต่ละกลุ่ม
ขั้นที่ 3. นาหมายเลขของแต่ละกลุ่มจากขั้นที่ 2 ไปแทนหมายเลขของจุดภาพที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จากผลลัพธ์ที่ได้ จะเห็นว่าในแต่ละบริเวณจะมีหมายเลขกากับไม่ซ้ำกัน
ดังนั้นหมายเลขสูงสุดก็คือจานวนบริเวณทั้งหมดที่เชื่อมกันนั้นเอง
รูปที่
23 ตัวอย่างจุดภาพและตำแหน่ง
สี่เหลี่ยมที่เล็กที่สุดในการปิดล้อมวัตถุ
(Minimum bounding box)
คือกล่องสี่เหลี่ยมที่เล็กที่สุดสาหรับปิดล้อมรอบบริเวณนั้นๆ
หรือบริเวณที่ถูกกำหนดหมายเลข ซึ่งกล่องสี่เหลี่ยมนี้จะช่วยในการคำนวณจุดศูนย์กลาง
พื้นที่ ความยาวแกนเอก-แกนโท จุดพิกัด ฯ ของบริเวณหรือวัตถุในภาพที่สนใจ โดยจากรูปที่
24 จะแสดงแนวความคิดการสร้างกรอบภาพที่เล็กที่สุดนี้ โดยรูป 24(a)
คือภาพวัตถุสีขาว-ดา ส่วนในรูปที่ 24(b)
คือขอบและจุดศูนย์กลาง (Centroid) ของวัตถุ ต่อจากนั้นจะมีการหาแกนเอกและแกนโทของวัตถุดังรูปที่
24(c) จากนั้นจะมีการหาจุดที่มีระยะห่างจากจุดศูนย์กลางวัตถุถึงขอบวัตถุที่ยาวที่สุดโดยพิจารณาจากส่วนด้านบนของแกนเอกและส่วนล่างของแกนเอก
(A และ B) รวมทั้งการหาจุดที่มีระยะห่างจากจุดศูนย์กลางวัตถุถึงขอบวัตถุที่ยาวที่สุดโดยพิจารณาจากบริเวณส่วนซ้ายของแกนโทและส่วนขวาของแกนโท(C
และ D) สุดท้ายก็จะได้จุดพิกัดในการสร้างกล่องสี่เหลี่ยมที่เล็กที่สุดในการปิดล้อมวัตถุ
(Minimum bounding box) นั้น
รูปที่
24 แนวความคิดการสร้างสี่เหลี่ยมที่เล็กที่สุดในการปิดล้อมวัตถุ
Clc,
clear all,
circles = imread('D:/circles.bmp');
circles1 = circles;
[r c] = size(circles1);
for i = 1:r
for j = 1:c
if (circles1(i,j) >= 125 && circles1(i,j)
<= 195)
circles1(i,j) =
255;
else
circles1(i,j) =
0;
end
end
end
figure, imshow(circles),pixval on
figure,
imshow(circles1),pixval on
circles2 = imfill(circles1,'holes');
%% Label and count connected components
[L Ne]=bwlabel(double(circles2));
Comments
Post a Comment